๏ กระเป๋า ๏ พาน ๏ กระปุกออมสิน ๏ กระติ๊บใส่ข้าว
ราคา ๑๐๐ – ๓๐๐ บาท ติดต่อ คุณเสงี่ยม ใจปาละ โทร ๐๘๗ ๓๐๐ ๙๖๓๕
ในสมัยหลายสิบปีที่ผ่านมา
ตั้งแต่ยังไม่มีเชือกฟาง พ่อค้าแม่ค้าในตลาดสดส่วนใหญ่ใช้เชือกกล้วยผูกสินค้า
เช่นหมู ผักต่าง ๆ ให้ลูกค้า
โดยใช้ใบตองห่อของก่อนที่จะใช้เชือกกล้วยผูกให้แน่นอีกรอบหนึ่ง
โดยเฉพาะคนขายหมูจะใช้เชือกกล้วยผูกใบตองห่อเนื้อหมูทุกเจ้า
ส่วนที่เรียกว่า “เชือกกล้วย”
มี 2 อย่าง คือ
อย่างที่ ๑
คือ ก้านใบของใบกล้วย ที่เรียกว่า “ใบตอง”
เมื่อแห้งแล้วมันจะห้อยแนวเดียวกับลำต้น
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็ไม่มีประโยชน์อะไร เอาไว้ให้หมาเห่าเล่น ที่เรียกว่า
“หมาเห่าใบตองแห้ง” ส่วนมากคนแก่ๆ ป้า ๆ ยาย ๆจะเอามีดมาเสียบปลายไม้รวกสอย
มาตัดก้านใบตองแห้งทั้งก้าน หรือ “หูกล้วย” นี้ เอาไปรูดเอาใบตองแห้งออก แล้วแยกขาย
ใบตองแห้งก็เอาไปขายพวกมวนยาสูบ หรือไม่ก็เอาไว้ห่อขนมบางอย่างที่ใช้ใบตองแห้ง
พวกห่อกะละแม หรือ ทำกระทง เช่นกระทงขนมเข่ง กระทงน้ำจิ้มต่างๆ เช่นน้ำจิ้มหอยทอด
น้ำจิ้มเต้าหู้ทอด เป็นต้น ล้วนทำจากใบตองแห้งทั้งสิ้น ส่วนก้านตองแห้ง
ก็เอาไปรวมให้ได้ขนาดไล่เลี่ยกัน มัดๆ ละ 50 ก้านบ้าง 100
ก้านบ้าง ขายให้พวกเอาไปทำเชือกใช้ได้ในหลายกิจกรรมเหมือนกัน เช่น
มัดของ หรือ มัดกำผัก ฯลฯ
อย่างที่
๒ คือ เชือกกล้วยอีกส่วนได้จากลำต้นของต้นกล้วยที่เรียกว่า “กาบกล้วย”
ลอกเอามาตากแดดให้แห้งก็เป็นเชือกได้ สมัยนี้ไม่มีใครใช้เชือกกล้วยตามประโยชน์ดั้งเดิมแท้ๆ ของมัน
คือเอาเชือกกล้วยไปผูกมัดสิ่งของกันแล้ว
มีแต่เอาเชือกกล้วยไปดัดแปลงทำเครื่องใช้เครื่องประดับตกแต่ง เช่น
ทำกระเป๋าหรือภาชนะเก๋ ๆ ใส่ของโชว์ เช่น ผลไม้ |